วิถีที่พอเพียง ทางเลือกชาวบ้านดอกแดง

วิถีที่พอเพียง ทางเลือกชาวบ้านดอกแดง เทศบาลตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีการบริหารงานครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบลสง่าบ้าน มีพื้นที่ประมาณ 2,400 ไร่ ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 2,167 คน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะกับการเพาะปลูก ทำนา คนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา เลี้ยงโค 2) ตำบลป่าลาน เป็นตำบลที่ยุบสภาตำบลป่าลานรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสง่าบ้าน เมื่อปี พ.ศ.2547 มีพื้นที่ประมาณ 1,912 ไร่ ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 1,990 คน พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะกับการเพาะปลูก ทำนา คนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา แต่ต้องเช่าที่จากนายทุน หลังจากที่นายทุนกว้านซื้อที่นาไปในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ปี 2534 วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ นำไปสู่วิกฤตของชุมชน เกษตรกรต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากการทำนา เนื่องจากต้องซื้อปุ๋ยเคมี...

กัญญา อ่อนศรี แบบอย่างเศรษฐกิจพอเพียง

กัญญา อ่อนศรี แบบอย่าง เศรษฐกิจพอเพียง กัญญา อ่อนศรี เป็นธิดาคนโตจากพี่น้อง ๔ คนของคุณพ่อเสมือน และคุณแม่สมิน ระบือนาม ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ ๑๐ บ้านทัพไทย ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากนั้นกัญญาได้ออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม  กระทั่งย่างเข้าสู่วัยสาว กัญญาก็มีความฝันเช่นเดียวกับหญิงสาวชนบทโดยทั่วไป พอหมดหน้านา กอปรกับความแห้งแล้งของชนบทในครั้งนั้น ทำให้เธอต้องมุ้งหน้าสู่เมืองหลวง เพื่อหารายได้และเพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเอง โดยในช่วงปี ๒๕๒๙ กัญญาได้เข้าไปเป็นคนฝึกหัดทำครัว แถวๆ ยานนาวา ซึ่งนี่เองทำให้เธอได้ฝีมือในการทำอาหารมาช่วยพี่น้อง ผองเพื่อนในหมู่บ้านเนื่องในเทศกาลงานบุญต่างๆ ทำได้ปีสองปี ถึงฤดูทำนา กัญญาก็กลับมาช่วยครอบครัวทำนาอีกคำรบหนึ่ง และพอหมดหน้านาในครานี้...

เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฏีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรทฤษฏีใหม่ “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ การปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ...

ครูบาคำเดื่อง ภาษี ต้นแบบเกษตรประณีต พึ่งธรรมชาติ พึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น

ครูบาคำเดื่อง ภาษี : ต้นแบบเกษตรประณีต พึ่งธรรมชาติ พึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูบาคำเดื่อง ภาษี จากบ้านโนนขวา จ.บุรีรัมย์ ปราชญ์จากอีสาน ต้นแบบการทำเกษตรประณีต หนึ่งไร่ ปลูกต้นไม่ที่กินได้ เป็นยาได้ สร้างบ้านเรือนในอนาคตได้ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำอาหาร สร้างชีวิตที่พอเพียงบนที่ดินเพียง 1 ไร่ โดยไม่ใช้สารเคมี เน้นการปรับแนวคิดใหม่ จากพึ่งพาตลาด พึ่งทุน พึ่งความรู้ภายนอก สู่การพึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติ ย้อนกลับสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปรับชีวิตให้พออยู่ พอกิน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง โรงเรียนชุมชนอีสาน ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อนเกษตรกรตามแบบ ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ด้วยตระหนักว่า “กางร่มคนเดียวในทะเลทราย” เป็นไปไม่ได้ “ เพราะดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมแล้วไม่สามารถทำให้พึ่งพาตนเองได้ และได้ทำลายต้นทุนทางธรรมชาติอย่างย่อยยับโดยไม่รู้ตัว...

งานมหกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดอย่างยิ่งใหญ่

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เตรียมจัดงานมหกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรักเรา “ก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคง” อย่างยิ่งใหญ่ในรอบปี  เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการเกษตร  พร้อมเปิด  3 อาณาจักรมหัศจรรย์แหล่งรวมองค์ความรู้เพื่อก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคง และอบรมวิชาของแผ่นดินฟรีกว่า 30 หลักสูตร ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2556 นี้ นางจารุรัฐ   จงพุฒิศิริ    ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยเฉพาะในด้านการเกษตร  เพื่อบรรเทาปัญหาต่างๆที่เกษตรกรต้องเผชิญอยู่  โดยเฉพาะแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...

วิถีเกษตร "ขวัญใจ แก้วหาวงศ์" ขยายผล "ทฤษฎีใหม่" สู่ชุมชน

วิถีเกษตร "ขวัญใจ แก้วหาวงศ์" ขยายผล "ทฤษฎีใหม่" สู่ชุมชน แม้จะจบแค่ ป.6 แต่เกษตรกรคนเก่งแห่งภูพานอย่าง "ลุงขวัญใจ แก้วหาวงศ์" วัยใกล้ 60 ปี หัวหน้าศูนย์เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยปุ บ้านเหล่านกยูง ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร ก็ไม่เคยย่อท้อในการศึกษาหาความรู้เรื่องราวดีๆ ด้านการเกษตร ภายในศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในสวนเกษตรใกล้บ้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่ 20 ไร่เศษ ที่ปัจจุบันถูกแปลงเป็นสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วยพื้นที่นา 14 ไร่ สระน้ำ 2 ไร่ ไม้ผลและกล้วย 2 ไร่ ปลูกพืชผักต่างๆ หลังฤดูทำนา อาทิ แตงกวา ฟักทอง ถั่วฝักยาว 2 ไร่ ปลูกอ้อย 2 ไร่ เลี้ยงกบแม่พันธุ์ 200 ตัว เลี้ยงผึ้งชันโรงและเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็ดเทศและไก่ดำอีก 35 ตัว  "แต่ก่อนพื้นที่ตรงนี้กันดารมาก...

ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปราชญ์แห่งเกษตรอินทรีย์

ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปราชญ์แห่งเกษตรอินทรีย์ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นปราชญ์ชาวบ้านตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ จนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัลติดเต็มฝาบ้าน ล้วนการันตีถึงความวิริยอุตสาหะ ถือเป็นบุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง นายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง วัย 63 ปี ชาวบ้าน ต.วังหว้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี หรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า “ลุงทองเหมาะ” เล่าถึงประสบการณ์เมื่อครั้งก่อนที่จะมาเป็นปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นเจ้าของศูนย์ปราชญ์ หรือสถาบันพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านใกล้เคียง และเป็นที่รู้จักของเกษตรกรส่วนใหญ่ทั่วประเทศในขณะนี้ว่า ก่อนที่จะพบทางสว่างนี้ เคยทำอาชีพมาหลายอย่าง ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพทางการเกษตรแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพชาวไร่อ้อย...

เกษตรกรรุ่นใหม่ไม่จน 1ไร่เลี้ยงตัวได้ยั่งยืน

เกษตรกรรุ่นใหม่ไม่จน 1 ไร่เลี้ยงตัวได้ยั่งยืน “ผมเติบโตมากับครอบครัวที่ทำไร่ทำนา ชอบอาชีพเกษตรกร อยากเป็นเกษตรอำเภอ จึงตัดสินใจมาเรียนเกี่ยวกับการทำเกษตร เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ชาวบ้านอนุรักษ์อาชีพของบรรพบุรุษที่ทำมาแต่ดั้งเดิมเป็นเสมือนหม้อข้าวของคนไทย เกษตรพอเพียง 1 ไร่  ที่นับวันจะเหลือแต่คนเฒ่าคนแก่ที่ยังทำอาชีพเกษตร เพราะวัยรุ่นไทยในปัจจุบันให้ความสนใจเรียนเกี่ยวกับการทำเกษตรจำนวนน้อย เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่ลำบาก” “น้องหยัด” ประหยัด เปลืองพรหม อายุ 18 ปี นักศึกษา ปวช. ปี 3 สาขาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น กล่าว  น้องหยัด เป็นเด็กไทยหัวใจเกษตรหนึ่งในนักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ 1 ไร่ไม่จน อธิบายว่าโครงการ 1 ไร่ ไม่จน เกษตรรูปแบบใหม่ จำลองแปลงสาธิตการทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่จำกัด...

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes