สร้างอาชีพทำเงินด้วยการเพาะเห็นขอนขาว

การเพาะเห็ดขอนขาว ทำง่าย ได้เงินดี มีอาชีพเสริม

 วันนี้มีเรื่องของเห็ดมาฝากกัน ที่นำเห็ดชนิดนี้มาเพราะมีน้องคนหนึ่งในที่ทำงาน กำลังมองหาอาชีพเสริมอยู่ แบบว่าทำกันในครัวเรือน เจ้าของบล็อกก็คิดว่าจะนำเอาวิธีการเพาะเห็ดขอนขาว การสร้างโรงเรือน รวมทั้งเคล็ดลับอื่นๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านรวบรวมมาให้ศึกษากัน และหากมีข้อแนะนำหรือเสนอแนะก็ฝากข้อความไว้ก็ได้ค่ะ ยินดีแชร์ความรู้ร่วมกัน

สร้างอาชีพทำเงินด้วยการเพาะเห็นขอนขาว

เห็ดขอน เป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ตามขอนไม้ที่ผุพังในเขตป่าร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนามและมาเลเซีย ประชาชนนิยมบริโภคกันมากเพราะรสชาติดี ปัจจุบันเกษตรกรหันมาสนใจการเพาะเห็ดชนิดนี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการเพาะและการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเกินไป และเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของไทยเรา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะบางปีเพาะได้แม้กระทั่งฤดูหนาว มาดูวิธีการตั้งแต่เริ่มเพาะกันเลย

โรงเรือนเพาะเห็ดขอน ที่ทำจากไม้ ความกว้าง 4 คูณ 6 เมตร สูง 2.50 เมตร ระยะทางเดินประมาณ80-100 cm ใส่ได้ประมาณ 2800-3000 แล้วแต่เราจะใส่ให้สูงประมาณกี่ก้อน ผมแนะนำให้ใส่ความสูงประมาณ 10-12 ก้อนก็พอ เพราะก้อนด้างล้างจะได้ไม่ถูกกดทับมาก ส่วนหลังคาก็ใช้พลาสติกหรือผ้าใบมุง และก็ใช้สแลมคลุมทับอีกทีเพื่อให้มีแสงสว่างตามที่เห็ดของต้องการ สแลมก็จะใช้ประมาณ 80 เปอร์เซน ทำจั่วด้านบนไว้เปิดปิดได้ทั้งสองด้านเพื่อเปิดปิดระบายความร้อนและถ่ายเทอากาศ พื้นควนปรับให้เรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย

โรงเพาะเห็ดแบบใช้อิฐบล็อกเหมาะกับเห็ดขอน ขนาด 4 เมตร คูณ 6 เมตร สูง 3 เมตร เก็บความชื้นได้ดี และที่สำคัญไม่ต้องมาซ่อมให้ปวดหัว โรงเพาะเห็ด แบบปูนจะทำความสะอาดได้ง่าย หลังคาใช้กระเบื้อง เพราะไม่ต้องมาเปลี่ยนบ่อยใช้ได้นาน ลงทุนครั้งเดียวจบเลย ต้นทุนโรงเรือนไม่เกินโรงละ 20000 บาท ถ้าได้ค่าแรงช่างถูกก็ดีไป

โรงนี้ก็อีกรูปแบบ เน้นความสวยงามและ สะดวกสบายครับ มีประตูเข้าออกได้ง่าย ราคาไม่แพงครับ ขนาด 4 คูณ7 เมตร สูง 2.5 เมตรครับ ต้นทุนไม่เกิน 5,000 บาท ต่อโรง จุก้อนได้ 3,000 ก้อนสบายๆ
วิธีการเปิดเห็ดขอนควรบ่มก้อนเห็ดในโรงพัก(ไม่ใช่โรงเปิดดอก)อากาศท่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนมาก รอให้เส้นใยเดินเต็มครบกำหนด 40 วัน วันที่ 38 ควรขนก้อนเห็ดใส่โรงเปิดดอกเพื่อให้ก้อนเห็ดได้อากาศก้อนเห็ดก็จะรัดตัวมากว่าเดิม เหมือนเป็นการกระตุ้นให้ดอกเห็ดหน้าแรกออกได้ดี ลักษณะโรงเรือน ควรเป็นผ้าใบหรือพลาสติก และคลุมด้วนแสลม 80 เปอร์เซ็นไม่สูงหรือต่ำเกินไป

ขั้นตอนที่ 1. นำก้อนเห็ดที่ได้กำหนดเปิดมาเรียงที่โรงเปิดดอกเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ต้องปิดโรงเรือน กันฝนกับแสงแดดก็พอ 
ขั้นตอนที่ 2. แกะกระดาษหนังสือพิมพ์ สำลี คอ และแคะเม็ดข้าวฟ่างออกให้หมดยังไม่ต้องรดน้ำ
ขั้นตอนที่ 3. ผ่านไปหนึ่งคืนก็มาถ่างปากถุง ถ้าเห็นก้อนที่มีลักษณะเป็นตุ่มหน้าก้อนก็สามารถกีดปากถุง (กีดเฉพาะที่เป็นตุ่มเท่านั้น) พอทำการกีดปากถุงก็ปิดโรงเรือน และรดน้ำให้มีความชื้น
ขั้นตอนที่ 4. รดน้ำวันล่ะ 4-5 รอบ/วัน ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 32-38 องศา 
ขั้นตอนที่ 5. รอประมาณ 7-8 ชม. หรือมากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วแต่อุณหภูมิก็สามารถมาเก็บผลิดได้
ลักษณะดอกที่ควรเก็บหน้าแรกการเก็บผลผลิดควรเลือกเก็บดอกที่กำลังสวยโดยดูจากดอกตรงกลางมีรอยบุ๋มพอประมาณและเลือกเก็บเฉพาะดอกที่ได้ขนาดเท่านั้น ดอกไหนยังไม่ได้ก็ปล่อยไว้ก่อนอีประมาณ 3-4 ชมพอเก็บดอกรุ่นที่ 1 หมด ก็ทำการแต่งหน้าก้อน ทำความสะอาดโรงเรือน (การทำความสะอาดควรทำทุกวัน) ควรรดน้ำให้หน้าก้อนเห็ดเริ่มดำแล้วค่อยหยุดรดน้ำ 3-5 วัน ก่อนวันที่จะเริ่มรดน้ำควรฉีด จุลินทรีย์ จำพวก พลายแก้ว (ป้องกันกำจัดเชื้อรา) ไมโตรฟากัส (ป้องกันกำจัดไร) บีที (ป้องกันกำจัดหนอน) อาทิตย์ล่ะ 2ครั้ง หลังจากฉีดจุลินทรย์แล้ว ผ่านไปอีกวันก็ รดน้ำวันละ 3 ครั้งเช้ากลางเย็น ให้ความชื้นในโรงเรือนรักษาอุณหภูมิอยู่ที่ 35-38 องศา รอเก็บผลผลิต

 เห็ดขอน เป็นเห็ดที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ตามขอนไม้ที่ผุพังในเขตป่าร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนามและมาเลเซีย ประชาชนนิยมบริโภคกันมากเพราะรสชาติดี ปัจจุบันเกษตรกรหันมาสนใจการเพาะเห็ดชนิดนี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการเพาะและการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเกินไป และเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของไทยเรา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะบางปีเพาะได้แม้กระทั่งฤดูหนาว

วิธีการเปิดเห็ดขอนควรบ่มก้อนเห็ดในโรงพัก(ไม่ใช่โรงเปิดดอก)อากาศท่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนมาก รอให้เส้นใยเดินเต็มครบกำหนด 40 วัน วันที่ 38 ควรขนก้อนเห็ดใส่โรงเปิดดอกเพื่อให้ก้อนเห็ดได้อากาศก้อนเห็ดก็จะรัดตัวมากว่าเดิม เหมือนเป็นการกระตุ้นให้ดอกเห็ดหน้าแรกออกได้ดี ลักษณะโรงเรือน ควรเป็นผ้าใบหรือพลาสติก และคลุมด้วนแสลม 80 เปอร์เซ็นไม่สูงหรือต่ำเกินไป

ขั้นตอนที่ 1. นำก้อนเห็ดที่ได้กำหนดเปิดมาเรียงที่โรงเปิดดอกเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ต้องปิดโรงเรือน กันฝนกับแสงแดดก็พอ
ขั้นตอนที่ 2. แกะกระดาษหนังสือพิมพ์ สำลี คอ และแคะเม็ดข้าวฟ่างออกให้หมดยังไม่ต้องรดน้ำขั้นตอนที่ 3. ผ่านไปหนึ่งคืนก็มาถ่างปากถุง ถ้าเห็นก้อนที่มีลักษณะเป็นตุ่มหน้าก้อนก็สามารถกีดปากถุง (กีดเฉพาะที่เป็นตุ่มเท่านั้น) พอทำการกีดปากถุงก็ปิดโรงเรือน และรดน้ำให้มีความชื้น
ขั้นตอนที่ 4. รดน้ำวันล่ะ 4-5 รอบ/วัน ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 32-38 องศา 
ขั้นตอนที่ 5. รอประมาณ 7-8 ชม. หรือมากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วแต่อุณหภูมิก็สามารถมาเก็บผลิดได้

วัสดุอุปกรณ์
1. อาหารเพาะ
2. หัวเชื้อเห็ดลมและเห็ดขอนขาว
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7"x13" 8"x13" หรือ 9"x13" ฯลฯ
4. คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
5. สำลี ยางรัด
6. ถังนึ่งไม้อัดความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย และเปิดดอก

อาหารเพาะ
◦สูตรที่ 1 
■ขี้เลื่อยแห้ง (ไม้ยางพารา, ไม้มะขามฯลฯ) 100 กิโลกรัม
■รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม 
■ปูนขาว หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือยิปซั่ม 0.5-1 กิโลกรัม 
■น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
■ผสมน้ำ ปรับความชื้น 50-55 กิโลกรัม

◦สูตรที่ 2
■ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม
■แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม 
■ปูนขาว 1 กิโลกรัม
■ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน
■กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับรำละเอียด 3 กิโลกรัม
■น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
■ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์

วิธีเพาะ
1. บรรจุอาหารเพาะลงในพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น สูงประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุง สวมคอพลาสติก พับปากถุงลงมา ดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่งโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
4. นำถุงพลาสติกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง เขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก และใส่ลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 15-20 เมล็ด โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง
5. นำไปวางในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับบ่มเส้นใย อุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ

•การเจริญของเส้นใยเห็ดลมเส้นใยเห็ดลมใช้เวลาในการเจริญเต็มอาหารเพาะน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ประมาณ 30-35 วัน จากนั้นเส้นใยจะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
จนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ โดยเฉพาะเมื่อถูกอากาศและแสงระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยจนเริ่มให้ดอกเห็ด ขึ้นกับสายพันธุ์ โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 80-90 วัน
•การเจริญของเส้นใยเห็ดขอนขาวคล้ายกับเห็ดลม แต่มีระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยตั้งแต่เพาะเชื้อจนเริ่มให้ดอกเห็ด เฉลี่ย 20-30 วัน 
โรงเรือนเปิดดอกโรงเรือนเปิดดอกเห็ดลมและเห็ดขอนขาว ควรให้มีแสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ประมาณ 60-70% มีช่องเปิดปิดสำหรับถ่ายเทอากาศ อาจใช้ตาข่ายพรางแสงมุงหลังคาและฝา และในกรณีฤดูฝน มุงหลังคาทับด้วยคา หรือวัสดุกันน้ำ 
•การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก
เปิดจุกสำลี หรือตัดปากถุง วางในโรงเรือน ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อ ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอก จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือนให้ลดลงมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ส่วนเห็ดขอนขาวจะทยอยให้ผลผลิต 

การเก็บดอกเห็ดควรเก็บส่วนต่างๆของดอก ให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการเน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเชื้อ ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นกับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดบาน 

เห็ดขอนขาว ควรเก็บดอกขณะที่หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 เซนติเมตรลักษณะดอกที่ควรเก็บหน้าแรกการเก็บผลผลิดควรเลือกเก็บดอกที่กำลังสวยโดยดูจากดอกตรงกลางมีรอยบุ๋มพอประมาณและเลือกเก็บเฉพาะดอกที่ได้ขนาดเท่านั้น ดอกไหนยังไม่ได้ก็ปล่อยไว้ก่อนอีกประมาณ 3-4 ชม
พอเก็บดอกรุ่นที่ 1 หมด ก็ทำการแต่งหน้าก้อน ทำความสะอาดโรงเรือน (การทำความสะอาดควรทำทุกวัน) ควรรดน้ำให้หน้าก้อนเห็ดเริ่มดำแล้วค่อยหยุดรดน้ำ 3-5 วัน ก่อนวันที่จะเริ่มรดน้ำควรฉีด จุลินทรีย์ จำพวก พลายแก้ว (ป้องกันกำจัดเชื้อรา) ไมโตรฟากัส (ป้องกันกำจัดไร) บีที (ป้องกันกำจัดหนอน) อาทิตย์ล่ะ 2ครั้ง หลังจากฉีดจุลินทรย์แล้ว ผ่านไปอีกวันก็ รดน้ำวันละ 3 ครั้งเช้ากลางเย็น ให้ความชื้นในโรงเรือนรักษาอุณหภูมิอยู่ที่ 35-38 องศา รอเก็บผลผลิต

การแก้ปัญหาเห็ดขอนขาวไม่ออกดอก

1. ในการเพาะเห็ดขอนขาวนั้น บริเวณที่เพาะเห็ดต้องไม่ร่มเกินไป บริเวณหลังคาต้องให้แสงแดดส่องถึงพื้นโรงเรือนด้วย ก็หมายความว่า โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดขอนขาวนั้นต้องไม่ทึบเกินไป ต้องให้มีแสงส่องผ่าน ซึ่งแสงนี่แหละจะเป็นตัวกระตุ้นให้เห็ดเกิดดอกดียิ่งขึ้น
2. การรักษาอุณหภูมิและความชื้น เห็ดขอนขาวต้องการอุณหภูมิในการเกิดดอกประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส และอาศัยความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ นั่นแสดงให้เห็นว่าเราจะต้องมีการให้น้ำ รักษาความชื้น และดูแลเรื่องอุณหภูมิให้เหมาะสมแค่นี้ก็ไม่ทนที่จะเก็บดอกแล้ว
3. การรักษาความสะอาด เพราะโดยปกติแล้วเวลาทำงานไปเรื่อยๆ คนเรามักจะมักง่าย ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความสะอาด ดังนั้นจะทำให้เกิดการหมักหมม ทำให้เกิดโรคและแมลงระบาดได้ ซึ่งจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเอง

ไปหน้าแรก  เกษตรพอเพียง


ขอขอบคุณ : บ้านมหาดอทคอม/บ้านสวนพอเพียง/กรมส่งเสริมการเกษตร

ทำเงินกับการปลูกมะกรูดตัดใบป้อนโรงงานน้ำพริก

มะกรูดตัดใบ ป้อนโรงงานน้ำพริกสร้างรายได้ทุกวัน

ทำเงินกับการปลูมะกรูดตัดใบป้อนโรงงานน้ำพริก

เกษตรกรหลายพื้นที่มักประสบปัญหาการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่เคยร่วนซุยกลายเป็นดินเหนียวแน่น การระบายน้ำไม่ดี ที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย ไม่ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยบำรุงพืชดีเพียงใดก็มักไม่ได้ผล พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ทางที่ดีก่อนปลูกพืชชนิดใดก็ตามต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดินเพื่อให้เหมาะสำหรับการงอกของเมล็ด การปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืช เช่น การไถ การย่อยดิน และการกำจัดวัชพืช ซึ่งหลากหลายปัญหานะค่ะ วันนี้เราจะนำการปลูกมะกรูดตัดใบมาฝากเพื่อนๆ ผู้ติดตามบล็อก Poo nita farm (ภูนิตาฟาร์ม) ค่ะ เพราะมะกรูดนอกจากจะนำปรุงแต่งรสชาติของอาหารแล้ว ยังสามารถจะแปรรูปได้หลายอย่างรวมทั้งจะปลูกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักของเกษตรกรได้เลยทีเดียว...และมะกรูด ก็เป็นพืชที่ชอบดินที่มีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขังเช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อผลผลิตที่ดี

วิธีการปลูก

สภาพพื้นที่ปลูกต้นมะกรูดต้องมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง เนื่องจากระยะปลูกมะกรูดมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง
ปลูก 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะปลูกห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา

การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย กิ่งพันธุ์สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ แต่ต้นพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเคอร์ หากโรคแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้และมีปัญหาต่อการส่งออก

มะกรูดที่นิยมปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก

แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบและผลมีขนาดเล็กอีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่และติดเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูดและมีใบขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด

การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย

ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ80เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุมระยะปลูกประมาณ 5 x 5เมตร

เทคนิคในการปลูกคือ ก่อนอื่นจะต้องรู้หน้าใบและหลังใบ ในการปลูกส่วนของหน้าใบจะต้องหันสู่ทิศตะวันออก (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางไหน หันใบไปทางนั้น) ฤดูกาลปลูกแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูง
ในการเตรียมหลุมปลูกต้นมะกรูดจะไม่รองก้นหลุมด้วยสารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารคาร์โบฟูรานเพื่อป้องกันการทำลายจากปลวก จะใส่สารคาร์โบฟูรานหลังจากปลูกเสร็จ เพราะว่าปลวกหรือแมลงศัตรูในดินจะทำลายรากของต้นมะกรูดในช่วงผิวดินที่ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เท่านั้น ต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า (ขี้วัวเก่า) ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น

การปฏิบัติดูแลรักษา 

การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15

สูตรให้ปุ๋ย :
ทางราก..... ขี้วัว - แกลบดิบ - ยิบซั่ม 6 เดือน/ครั้ง.....ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิด เถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 2 ล./ไร่/เดือน (อ้างอิงจากข้อมูล เกษตรลุงคิม)
ทางใบ...... ให้ "ไบโออิ + ยูเรีย จี. + จิ๊บเบอเรลลิน" 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังตัดยอดเก็บใบ

หมายเหตุ : 
- พืชตระกูลส้มต้องการ แม็กเนเซียม-สังกะสี สูง
- ยูเรีย จี, จิ๊บเบอเรลลิน. ช่วยให้แตกยอดใหม่เร็ว
- ให้สารอาหารตามนี้แล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะมีแล้วอย่างเพียงพอสำหรับ มะกรูดตัดใบ

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย

การดูแลรักษาหลังการปลูก ในช่วง 1-2 เดือนแรกก็เพียงแต่รดน้ำเช้าเย็นเท่านั้น และเมื่ออายุปลูกได้ 8 เดือน จึงบำรุงต้นอีกครั้ง โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่รอบๆ บริเวณโคนต้น การให้น้ำก็จะลดลงเหลือเพียงวันละครั้งเดียว เมื่อต้นมะกรูดขึ้นปีที่ 2 ก็เริ่มที่จะเก็บผลผลิตตัดใบไปจำหน่ายได้เลย
วิธีตัดใบเพื่อนำไปขาย ให้เลือกตัดกิ่งที่ยาวๆ คล้ายกับเราตัดแต่งกิ่ง เพียงแต่ต้องตัดให้ยาวไว้ ไม่ต้องตัดซอยสั้น หรือให้กิ่งตัดมีความยาว 50 เซนติเมตร ขึ้นไป ส่วนต้นมะกรูดให้แต่งซอยสั้น ทำเพื่อเป็นการพักต้นไปเลยหลังจากนั้น นำมามัดเป็นกำๆ 1 กำ มีอยู่ 7-8 กิ่ง

เมื่อเก็บผลผลิตที่ต้องการหมดคงเหลือแต่ต้นมะกรูด จะพักต้นไว้ประมาณ 4 เดือน เพื่อได้บำรุงต้นให้แตกกิ่งก้านออกมาอีก ในช่วงนี้จะจ้างแรงงานมาทำแปลง ในการพรวนดินรอบๆ ต้น ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช และนำโคลนที่อยู่ในท้องร่องสวน ขึ้นมากลบบริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะกรูด หลังจากนั้น ต้นมะกรูดจะให้ผลผลิตใบได้อีกรอบ ทำหมุนเวียนกันไปจนครบทั้งหมดมะกรูดเชิงการค้านั้น จะมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตาและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโต ทางกิ่งใบรวมทั้งระยะปลูกและจำนวต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสมในเรื่องของการดูแลรักษาต้นมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้น ควรจะมีการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันรักษาใบให้ดี โดยเฉพาะในช่วงของการแตกใบอ่อนจะพบการระบาดของหนอนชอนใบ แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด อัตรา 1-2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโปรวาโดเป็นสารในกลุ่มอิมิดาคลอพริดที่ใช้อัตราน้อยที่สุด และเมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตต่ำกว่าสารอิมิดาคลอพริดชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เกษตรกรที่ปลูกต้นมะกรูดจะต้องควบคุมโรคแคงเกอร์ให้ได้ โดยภาพรวมแล้วการปลูกมะกรูดมีการดูแลรักษาที่น้อยกว่าการปลูกมะนาวและพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ

การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดครั้งแรกเมื่อปลูกไปประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มการตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่งแล้ว ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้ กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่ ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตายืดเวลาออกไป ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร.

การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดย ต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน

แนะนำให้เกษตรกรที่จะปลูกมะกรูดในพื้นที่ 1 ไร่

ให้ปลูกด้วยการใช้ต้นมะกรูดเสียบยอดและควรใช้พันธุ์ที่มีขนาดใบใหญ่และผลตะปุ่มตะป่ำ (เสียบบนต้นตอมะนาวพวง รากมะนาวพวงหากินเก่งทำให้ต้นเจริญเติบโตไว) ที่ไม่ส่งเสริมให้ปลูกโดยการใช้กิ่งตอนเนื่องจากเมื่อต้นใหญ่ขึ้นมีโอกาสโค่นล้มได้ง่าย วิธีการเสียบยอดมะกรูดควรใช้วิธีการเสียบแบบผ่าลิ่ม ต้นตอจะใช้กิ่งมะนาวพวงโดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกลางแก่กลางอ่อนที่มีขนาดต้นประมาณแท่งดินสอ (วิธีสังเกตต้นตอที่ดีเปลือกผิวจะมีลายที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลายนกคุ้ม" จะดีมาก) สำหรับยอดพันธุ์มะกรูดที่จะนำมาเสียบควรเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์และใบสวย ขนาดของยอดที่ตัดมาเสียบให้มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และขนาดของยอดควรใหญ่ใกล้เคียงกับต้นตอ ข้อดีของการปลูกต้นมะกรูดที่ได้จากการเสียบยอดแบบผ่าลิ่มคือ ระบบรากจะดีมาก เมื่อแผลจากการเสียบประสานเชื่อมติดสนิทจะเหมือนกับต้นเพาะเมล็ด ต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วมาก

ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะกรูดได้ 400 ต้น โดยใช้พื้นที่ปลูก 2x2 เมตร และแซมด้วยการปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อช่วยเป็นร่มเงาในปีแรก เมื่อต้นมะกรูดมีอายุได้ 1 ปีเต็ม เราจะได้กล้วยต้นละ 1 เครือ เป็นรายได้เสริม ให้โค่นต้นกล้วยทิ้งเมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน เมื่อคิดเป็นเงินจากการขายใบมะกรูด 70 บาท ต่อต้น ต่อรุ่น จะได้เงิน 28,000 บาท (ใน 1 ปี จะมีรายได้จากการขายใบมะกรูดถึง 112,000 บาท ต่อไร่) สภาพพื้นที่ปลูกควรเลือกสภาพดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดีและเตรียมแปลงแบบลูกฟูกเพื่อช่วยการระบายน้ำ จุดสำคัญที่สุดของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย

นั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ (ถ้าแหล่งน้ำไม่สมบูรณ์อาจจะตัดใบมะกรูดได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น)สำหรับพื้นที่ที่พบว่ามีลมพัดแรงจำเป็นจะต้องปลูกต้นไม้กันลม เกษตรกรควรจะปลูกต้นสนปฎิพัทธ์ ไผ่รวกหรือไผ่ชนิดอื่นๆ เป็นแนวกันลมก็ได้ หรืออาจจะปลูกกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยท้องถิ่นของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้มีการนำต้นพันธุ์กล้วยหินมาจากไร่ บี.เอ็น ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาปลูกรอบแปลงปลูกไม้ผล ผลปรากฏว่าต้นกล้วยหินซึ่งจัดเป็นกล้วยที่ลำต้นสูงใหญ่ใช้เป็นแนวกันลมได้อย่างดีไม่แพ้ไม้ชนิดอื่นๆ ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ว่า ควรจะปลูกกล้วยหินเป็นแนวกันลมล้อมรอบแปลงกล้วยไข่
การตลาดและการจำหน่าย

สำหรับใบมะกรูดที่มีตำหนิโรงงานที่รับซื้อใบและผลมะกรูดก็รับซื้อทั้งหมดเพื่อจะนำไปผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหย จะมีการรับซื้อทั้งใบและผลโดยรับซื้อเป็นกิโลกรัม รูปแบบของการรับซื้อจะมีรถพร้อมคนงานไปตัดใบและผลมะกรูดถึงสวน รถปิคอัพแต่ละคันจะต้องตัดใบมะกรูดได้อย่างน้อยวันละ 500 กิโลกรัม

โดยจะเริ่มลงมือประมาณ 9 โมงเช้า-ประมาณบ่าย 2 โมง จะเสร็จเรียบร้อย ขนใบมะกรูดมารวบรวมไว้ในที่ร่มเพื่อเตรียมส่งโรงงานและจะเก็บใบและผลมะกรูดได้ไม่เกิน 3 วัน เจ้าของสวนเพียงแต่นัดวันเวลาให้ไปตัดเท่านั้น ราคารับซื้อถึงสวนถ้าเป็นใบที่สวยจะรับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7-10 บาท ส่วนใบที่มีตำหนิหรือมีร่องรอยของการทำลายของโรคและแมลง (เช่น หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และไร เป็นต้น) จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท ส่วนของผลมะกรูดจะรับซื้อทั้งหมด (แยกเฉพาะผลเน่าออก) โดยใช้วิธีการเขย่าต้น ในราคาเฉลี่ย

กิโลกรัมละ 3 บาท เช่นกัน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกมะกรูดในเชิงพาณิชย์ยังมีน้อยมากและยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าใบและมะกรูดมีตลาดดีกว่าพืชอีกหลายชนิด และเป็นพืชที่มีการจัดการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชตระกูลส้มชนิดอื่นๆ แหล่งผลิตใบและผลมะกรูดที่สำคัญในปัจจุบันนี้จะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานีเทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้น หากมีการใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5 : 1 : 3 หรือ 5 : 1 : 4 หรือใกล้เคียงกัน

วิธีปักชำกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง

เตรียมดินเพาะชำโดยใช้ขี้เถ้า 1 ส่วน ดินดำ 2 ส่วน ใส่ถุงดำขนาด 4x7 นิ้ว แต่ต้องเป็นวัสดุที่แห้ง เพราะถ้าเปียกชื้นจะทำให้เกิดเสี้ยนดิน

จัดหากิ่งพันธุ์มะกรูดและกิ่งพันธุ์มะนาวพวง โดยคัดเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว และต้องคัดขนาดที่ใกล้เคียงกัน ตัดกิ่งตอมะนาวพวงเป็นท่อนยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการเสียบยอด ก่อนผ่ากลางที่ปลายกิ่งด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร เฉือนกิ่งมะกรูดที่เตรียมไว้ทั้ง 2 ด้านให้เป็นลิ่ม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลต้นตอที่เตรียมไว้ เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้ผ้าพลาสติกพันจากล่างขึ้นบน ให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น นำต้นพันธุ์ไปชำในถุงดินที่เตรียมไว้ โดยรดน้ำให้ความชื้นที่พอเหมาะ สังเกตจากการบีบดูไม่ให้แฉะเกินไป ใช้ไม้แทงลงดินก่อนนำต้นพันธุ์ลงชำในถุง นำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติกไม่ต้องรดน้ำ ทิ้งไว้นาน 60 วัน รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 7 วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้ตามปกติ

วิธีทาบกิ่งมะกรูดด้วยต้นตอมะนาวพวง

เตรียมอุปกรณ์และวัสดุ ขุยมะพร้าวที่ร่อนด้วยตะแกรง เพื่อนำใยมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะขุยมะพร้าว นำไปใส่ถุงพลาสติกใส (ถุงใส่ของร้อน) ขนาด 3x5 นิ้ว ก่อนที่จะจัดหากิ่งมะนาวพวง โดยใช้กิ่งที่สมบูรณ์ สภาพดี อายุที่เหมาะสม สังเกตจากกิ่งมีลายนกคุ้ม คือ มีลายดำแซมยาว นำมาตัดเฉียงควรทำตำหนิโคนกิ่ง ป้องกันการสับสนในการปักชำ ความยาวของกิ่งประมาณ 4-5 นิ้ว จุ่มโคนกิ่งด้วยน้ำฮอร์โมนเร่งรากที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนที่จะชำลงในถุงขุยมะพร้าวที่มีความชื้นพอประมาณ ทดสอบด้วยการทำให้ขุยมะพร้าวเป็นก้อน แต่ไม่ถึงกับมีน้ำไหลออกตามง่ามนิ้วมือ ผูกปากถุงด้วยเชือกพลาสติก คัดกิ่งมะกรูดเป็นกิ่งพันธุ์ เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่มีโรค มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ

ปาดเฉียงขึ้นบนกิ่งมะกรูดที่ได้เลือกไว้ด้วยมีดที่คมไม่เป็นสนิม ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร เฉือนต้นตอมะนาวพวงที่เตรียมไว้ให้เป็นปากฉลาม ขนาดแผลเท่ากับความลึกของแผลกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ เสียบต้นตอลงในแผลของกิ่งพันธุ์ดี ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้พลาสติกพันจากล่างขึ้นบนให้คลุมแผลจนเต็ม ก่อนพันรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน ต้นตอจะใช้อาหารและน้ำจากต้นของกิ่งพันธุ์ จนเกิดรากเต็มถุง ตัดออกมาใส่ถุงดำ อบไว้ในตู้อบพลาสติกประมาณ 20 วัน จึงนำออกมาไว้ข้างนอกจนกว่ารากจะออกมาให้เห็นนอกถุง ทรงต้นจะสมบูรณ์ ใช้เวลาประมาณเดือนกว่าสามารถจำหน่ายได้ ผลผลิตที่ได้คุ้มค่า คือ ปลูกในระยะชิด 2x2 เมตร ไร่ละ 400 ต้น

หลังปลูก 9 เดือน ผลผลิตไม่เกิน 100 กิโลกรัม จะสามารถตัดใบได้ 3 เดือนต่อครั้ง ตัดครั้งที่ 6 ขึ้นไป ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถ้าอายุ 3-4 ปีขึ้นไป จะสามารถตัดใบจำหน่ายได้ต้นละประมาณ 100 บาท ในส่วนของราคา ประมาณ 8 บาท/กก.

การนำไปปลูกต้องรู้ถึงเคล็ดลับการปลูก คือ จะต้องให้หน้าใบหันไปทางแสงแดด ถ้าหันหลังใบจะทำให้ลำต้นบิดไส้ลำต้นแตกต้นจะแคระแกรน ไม่ยอมโต ราคาจำหน่ายที่เรือนเพาะชำต้นละ 25 บาท ถ้าให้ไปปลูกให้ก็ขอเพิ่มอีกต้นละ 5 บาทการปลูกต้นมะกรูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตใบแล้วควรปลูกในระยะชิดโดยเลือกกิ่งที่ทำมุมในแนวตั้งฉากเพื่อให้ได้ผลผลิตของจำนวนใบที่มากกว่าและขนาดใบที่ใหญ่กว่า โดยที่แต่ละรอบของการผลิตใช้ระยะเวลาตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงเก็บเกี่ยวแล้วไม่เกิน 40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่นระยะเวลาเหลืองเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี40 วัน เมื่อเป็นดังนี้แต่ละต้นใน 1 ปี จึงสามารถเก็บเกี่ยวใบมะกรูดได้ถึง 9 ครั้ง แต่ถ้าหากสามารถร่นระยะเวลาเหลืองเพียง 30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี30 วันแล้ว ก็จะเพิ่มได้เป็น 12 ครั้งต่อปี การเลือกกิ่งที่ยู่ในแนวตั้งตรงซึ่งจะได้ขนาดขอกิ่งและใบที่ใหญ่กว่า ไม่ควรใช้กิ่งในแนวนอน อายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่งอายุของกิ่งและใบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 33 – 40 วันภายหลังการตัดแต่ง


ไปหน้าแรก  เกษตรพอเพียง


ข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.kasetloongkim.com/ www.limejuite.wordpress.com
ข้อมูลบางส่วน : กรมวิชาการเกษตร

ทำเงินล้านกับการปลูกมะระหน้าแล้ง

วันนี้จะนำเรื่องการปลูกมะระช่วงหน้าแล้ง แล้วสามารถทำเงินได้ดีมากๆ มาฝากกัน ถ้าเพื่อนๆ อยากลองทำดู


จังหวัดสุพรรณบุรีนับเป็นแหล่งปลูกผักที่ใหญ่มากของบ้านเรา ผักที่ปลูกก็ค่อนข้างจะหลากหลาย แต่ที่นิยมปลูกกันมากก็คือ มะระ คะน้า มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ขึ้นช่าย มันเทศ เป็นต้นค่ะ และชาวสาวจะเป็นผู้วางแผนในการปลูกเพื่อให้ได้จังหวะเวลาที่ได้ผลตอบแทนมากที่สุด สวนใหญ่พืชผักมักจะมีราคาแพงช่วงที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำยาก เสี่ยงสูง หากคิดจะเสี่ยงก็ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดี หากสามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ก็เรียกว่าเกินคุ้ม

พืชที่กล่าวได้ว่าเป็นที่นิยมปลูกกันมากในช่วงหน้าแล้งคือ "มะระ" เพราะถือว่าเป็นจังหวะที่มะระมักมีราคาแพง แต่ก็เป็นช่วงที่ทำยาก เพราะสารพัดปัญหารุ้มเร้า ทั้งมะระไม่โต ไม่ติดผล ผลไม่ดก เพลี้ยไฟเข้าทำลาย ต้นเหลือง แต่คุณ สมชาติ เชื้อฉ่ำหลวง ก็ยอมที่จะเสี่ยง และสามารถที่จะทำสำเร็จมาได้ทุกปี และปีนี้ก็เช่นกัน และราคาก็พุ่งกระฉูดเลยทีเดียว ซึ่งถ้ามีมะระแค่ 10 ไร่ ก็สามารถที่จะสร้างได้ไม่ต่ำกว่าล้านอย่างแน่นอน

เทคนิคการทำให้มะระติดดกในช่วงแล้ง

สำหรับการเลือกมะระของสวนคือ พันธุ์เขียวหยก เบอร์ 16 ของศรแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ตลาดชอบ เพราะสีสวย ทรงผลสวย ให้ผลผลิตดี มะระในช่วงนี้จะเลือกทำค้าง แบบกระโจม เพราะทำง่าย ลงทุนต่ำ การดูแลง่าย ฉีดพ่นสารเคมีง่าย ค้างแบบนี้จะโปร่ง โอกาสที่มะระจะเสียหายน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นค้างแบบสี่่เหลี่ยมหรือแบบกล่อง แม้จะได้ผลผลิตยอะกว่าค้างแบบกระโจมเท่าตัว แต่ก็ลงทุนเยอะ ดูแลยาก ฉีดพ่นเคมียาก ค้างแบบกล่องจะทึบ โอกาสที่มะระจะเสียหายสูง การทำค้างแบบกระโจมพื้นที่ 10 ไร่ ลงทุนประมาณ 1.5 แสนบาทรวมทั้งหมด ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเริ่มเก็บ ( 2 เดือน) ถ้าคำนวณจนถึงเก็บหมดแปลงก็ประมาณ 2.5-3 แสนบาท แต่ถ้าเป็นค้างแบบกล่องตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเริ่มเก็บก็ประมาณ 2.5 แสนบาทแล้ว

สำหรับการดูแลมะระจะเริ่มให้ปุ๋ยหลังปลูก 10 วัน จากนั้น อายุ 1 เดือนใส่อีกครั้ง ตอนนี้จะเริ่มจับยอดขึ้นค้างได้แล้ว ช่วงนี้มะระจะเริ่มออกดอกแล้ว หลังจากนั้นจะใส่ปุ๋ยทุกครั้งหลังตัดผลผลิต หรือตัด 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ให้ปุ๋ยบ่อยแต่ให้ครั้งละไม่มาก ให้มะระได้กินต่อเนื่อง ปุ๋ยให้ครั้งล่ะ 300-350 กก./ไร่ ใช้ 16-16-16 เป็นหลัก และเน้นให้ปุ๋ยทางใบค่อนข้างถี่ ตั้งแต่ช่วงปลูกแรกๆ พอมะระแตกใบมา 4-5 ใบก็เริ่มฉีดพ่นแล้วเพื่อเร่งต้นให้โตเร็ว แตกยอดเลี้อยขึ้นค้างได้เร็ว โดยจะพ่นทั้ง แคลเซี่ยม-โบรอน ธาตุอาหารเสริมเร่งต้น สาหร่ายทะเล อะมิโนแอซิด และเร่งการแตกและขยายของรากด้วย ฮิวมิค ทำให้รากดูดปุ๋ยได้ดี ได้เร็ว ต้นก็โตเร็ว มะระ 1 เดือน เริ่มออกดอกธาตุอาหารทางใบยังพ่นต่อเนื่อง จะช่วยให้มะระออกดอกดี ติดผลดี สาหร่ายทะเลช่วยเปิดตาดอก แคลเซี่ยม โบรอนช่วยให้ดอกแข็งแรง ผสมเกษรได้ดี ติดผลได้ดี 

เมื่อติดลูกแล้วแคลเซี่ยม โบรอนแมกนีเซี่ยมขาดไม่ได้ ช่วยขยากลูก สร้างเนื้อ เลี้ยงต้นด้วย ช่วงนี้อากาศร้อนจัด โอกาสเสียหายเยอะ เพลี้ยไฟก็มักจะลงหนัก ไวรัสลงด้วย ทำให้ต้นเหลืองได้ง่าย ต้องพ่นสารเคมีถี่ทุก 4 วัน เพื่อป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดปัญหา โดยใช้ อิมิดาคลอพริด คารโบซัลแฟน ไดอะซีนอน ไดโคลโฟล พ่นสลับกันไป เชื้อราแม้ช่วงร้อนไม่เยอะแต่ต้องฉีดไว้ก่อนโดยใช้ เฮดไลน์ แมนโคเซ็บ พอช่วงฝนจะเน้นเชื้อรามากขึ้น แมลงลดลง การให้นช่วงนี้ก็ต้องระวังอย่าให้แฉะเกิดนไป รดน้ำก็รดเช้าๆ ไม่ให้เย็นมากเพราะถ้าแปลงยังไม่แห้งเชื้อราจะเข้าง่าย เรียกว่าดูแลกันอย่างละเอียดและใส่ใจจึงจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี

มะระราคาพุ่ง กก.ละ 26-30 บาท 10 ไร่ ทำเงินได้หลักล้าน

มะระจะเริ่มตัดมีดแรกได้ประมาณ 60 วัน หลังเพาะเมล็ด จากนั้นจะตัดทุก 3 วัน ช่วงมีดที่ 1-5 มะระจะยังตัดได้ไม่มากเพราะมะระยังโตไม่เต็มที่ ยังไม่เต็มค้าง มะระจะดกมากในมีที่ 7-10 และจะดกไปจนถึงมีดที่ 15 จากนั้นก็จะเริ่มลดลง ถ้าบำรุงดีๆ จะสามารถเก็บได้ถึง 20-25 มีด ช่วงที่มะระดกๆ จะเก็บวันเว้นวัน ช่วงมีดแรกๆ จะเก็บวันเว้น 2 วัน ช่วงแรก มีดที่ 1-4 ผลผลิตยังน้อย เพียง 500 กก./ครั้ง ช่วงดกๆ น่าจะได้ถึง 3 ตันกว่า

ส่วนราคาวันนี้มะระมีดแรกๆ ผลยังไม่สวย ยังไม่ค่อยได้ทรง ขนาดเบอร์ไม่สวยยังราคา 24 บาท/กก. มะระจะเริ่มสวยในมีดที่ 4-5 ตอนนี้เบอร์สวยๆ ราคา 26 บาท/กก. หรือถุงล่ะ (10 บาท.) 130 บาท เบอร์กลางถึงล่ะ 80-90 บาท มะระเกรดเอความยาวของผลประมาณ 1 ฟุต ต่ำลงมาก็จะเป็นเกรด บี คุณสมชาติบอกว่า มะระราคาแพงสุดๆ จะขึ้นไปถึงถุงล่ะ 170 บาทหรือ กก.ล่ะ 35 บาท ไม่เกินนี้ ราคานี้เป็นราคาทึ่ตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งคุณสมมชาติจะนำมะระไปขายเอง ไม่ส่งผ่านแม่ค้าเพราะจะได้ราคาสูงกว่าที่แม่ค้ามารับประมาณ 5-6 บาท/กก. เลยทีเดียว คุณสมชาติประเมินว่าถ้ามะระราคาอย่างนี้ เก็บผลผลิตหมดแปลงน่าจะเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน ถ้าราคาช่วยก็อาจจะถึง 1.5 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนน่าจะอยู่ที่ 2-2.5 แสนบาทเท่านั้น เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่แปลกใจแล้วว่าทำไมคุณสมชาติจึงเลือกที่จะปลูกมะระช่วงราคาแพง และเขาก็สามารถฝ่าด่านของอุปสรรคมาได้ทุกรุ่นด้วยฝีมือจริงๆ

เทคนิคการห่อผลมะระ

เมื่อมะระอายุได้ 40 วัน จะออกดอกและติดผลจนลูกโตขนาดนิ้วก้อย ก็เริ่มห่อผลได้ทันที โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำเป็นถุงขนาด 15×20 เซนติเมตร ปากถุงเปิดทั้งสองด้าน นำปากถุงด้านหนึ่งสวมผลมะระ แล้วใช้ไม้กลัด ๆ ปากถุงให้แขวนอยู่บนก้านของผลมะระ การห่อผลจะช่วยไม่ให้มะระถูกรบกวนจากแมลง ศัตรูพืชมากนัก และยังทำให้ผลมีสีเขียวอ่อนน่ารับ

การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์

เริ่มด้วยการคัดเลือกต้นมะระในแปลงปลูกที่เจริญงอกงามแข็งแรง ให้ผลรุ่นแรกมีลักษณะดีตรงตามพันธุ์ไว้หลาย ๆ ต้น กะให้ได้เมล็ดพันธุ์พอปลูกในปีหน้า เมื่อดอกตัวเมียและตัวผู้ของต้นที่เลือกไว้
เป็นต้นแม่พันธุ์ใกล้จะบาน หาถุงกระดาษบางขนาดโตกว่าดอกนิดหน่อยมาสวมไว้ รุ่งขึ้นดอกจะบาน เด็ดดอกตัวผู้มาครอบดอกตัวเมียแล้วเคาะเบา ๆ ให้ละอองเกสรหล่นลงไปบนดอกตัวเมีย แล้วเอาถุงกระดาษสวมไว้ตามเดิม ทิ้งให้ผลสุกจึงเด็ดไปผ่าเอาเมล็ดออกล้างน้ำตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไปได้ประทานด้วย

ไปหน้าแรก  เกษตรพอเพียง


ฤดูปลูกข้าวโพด ที่เหมาะสมและให้ผลผลิตดี


ฤดูปลูกข้าวโพด "ข้าวโพด"เป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทานและปลูกง่าย ในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอ จะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดทั้งปี การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่ กับจำนวนน้ำฝนและการกระจายตัวของฝนในแต่ละเดือนนั่นเอง 

ปกติเฉลี่ยโดยทั่ว ๆ ไป ฝนจะเริ่มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน และระหว่างสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันมีอายุปานกลาง คือ ประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน ดังนั้น จึงอาจเลือกปลูกข้าวโพดได้ตามความเหมาะสม ถ้าปีใดมีฝนตกสม่ำเสมอแต่ต้นปี อาจปลูกข้าวโพดได้ ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และครั้งที่สองปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ปลูกต้นฤดูฝนโดยทั่ว ๆ ไป มักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำฝนกำลังพอเหมาะและโรคแมลงรบกวนน้อย แต่มีข้อยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด เนื่องจากฝนตกชุก

ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนํ้า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพดโดยอาศัยนํ้าฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ

1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของ ฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื่องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรครานํ้าค้างระบาด

พันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1 ทำความเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษ อะฟลาท้อกซิน

2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมารเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้ พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรครานํ้าค้างระบาดทำ ความเสียหายให้แก่ข้าวโพด

มากอย่างไรก็ตามข้าวโพด ที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ดตํ่า ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บ เกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝน มีสารพิษนี้ในปริมารสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศ ส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซิน ถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำ ในขณะที่ความชื้นในอากาศตํ่า

ไปหน้าแรก เกษตรพอเพียง


การปลูกพริกขี้หนู พืชมหัศจรรย์ปลูกได้ตลอดปี

พริกขี้หนูสามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสม ที่สุดคือดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด เป็นด่าง ของดิน 6.0-6.8 ปลูกได้ตลอดปี พริกขี้หนูเป็นพืช ที่ใช้ส่วนของผลบริโภคในรูปของพริกสด และพริกแห้ง สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด มีรสเผ็ด

การปลูกพริกขี้หนู

การเตรียมดินเพาะกล้าพริกขี้หนู

ใช้จอบขุดหน้าดินลึก 15-20 เซนติเมตร ทำแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวตามความ เหมาะสมของพื้นที่ ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก คลุกเคล้ากับดิน ขุดหลุมปลูกโดย ใช้ระยะห่าง ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 70-80 เซนติเมตร ควรรองกันหลุม ด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 1/2 ช้อนชา ทับหน้าปุ๋ยเคมี ด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1 กะลามะพร้าว แล้วถอนแยกต้น กล้าลงปลูก หลุมละ 1 ต้น แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม

การดูแลรักษาพริกขี้หนู

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนชาต่อต้นทุกๆ 15-20 วัน โดยโรยห่างโคนต้น 5 เซนติเมตร และรดน้ำตามทันที หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้

การให้น้ำ ควรให้น้ำพริกขี้หนูสม่ำเสมอทุกวัน อย่าให้ขาดน้ำโดยเฉพาะช่วงแรกหลังย้ายปลูก
การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะแรกอย่าให้วัชพืชรบกวน เพราะวัชพืชจะแย่งอาหารได้

การเก็บเกี่ยว พริกขี้หนู เป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวได้หลังย้ายลงปลูก 60-90 วัน การเก็บควรเก็บทุกๆ 5-7 วัน โดยใช้วิธีเด็ดทีละผล อย่าเก็บทั้งช่อ เพราะผลในแต่ละช่อแก่ไม่พร้อมกัน พริกขี้หนูสามารถเก็บได้ยาวนานถึง 6 เดือน

ไปหน้าแรก  เกษตรพอเพียง


การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วฝักยาวชนิดหนึ่งที่ ถูกปรับปรุงพันธุ์ การจนกระทั่ง ไม่จำเป็นต้องการ ใช้ค้างในการปลูก จุดประสงค์ที่สำคัญ ก็คือ ลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของการ ทำค้างให้ถั่วฝักยาว และความสะดวก ในการปลูกถั่วชนิดนี้


ถั่วฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ มข. 25 ได้รับการปรับปรุงขึ้นที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 โดยเกิดจากการผสมระหว่างถั่วพุ่มกับถั่วฝักยาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ มี ลำต้นตั้ง แข็งแรง ฝักยาว ไม่ต้องใช้ค้าง สามารถเจริญได้ดีในดินร่วนปนทราย อากาศร้อน ต้องการแสงแดด ส่องตลอดทั้งวัน ถ้าปลูกในร่มหรืออากาศ เย็นในเดือน กรกฎาคม ลำต้นจะเลื้อยเล็กน้อย สามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่การเจริญเติบโต จะหยุดชะงักเมื่ออากาศเย็น ถั่วนี้สามารถทนอากาศร้อน และแห้งแล้งได้ ดีกว่า ถั่วฝักยาวธรรมดา

การเตรียมดินปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง

ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหารเช่น ฟอสฟอรัสและ โปแตสเซียม อยู่อย่างเพียงพอ มีระดับความเป็นกรด-ด่าง (พี.เอช) อยู่ระหว่าง 5-6.5 เตรียมดินเหมือนกับการปลูกพืชผักทั่ว ๆ ไป คือมีการไถตากดินทิ้งไว้เพื่อให้วัชพืชตายแล้วจึงไถพรวนให้ร่วนซุย
ก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้ายควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ และใส่อีกครั้ง 10 กก./ไร่ เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ ถ้าดินเป็นกรดมากควรใส่ปูนขาวประมาณ 80 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนการไถพรวน

การปลูกถั่วฝักยาวไร้ค้าง

ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บฝักสด ใช้ระยะแถว 50 ซม. ระยะต้น 30 ซม. หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น (ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยก จะทำให้ลำต้นไม่ ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้น จะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด)

อัตราเมล็ดพันธุ์และความลึกในการหยอดถั่วฝักยาวไร้ค้าง
- ถ้าปลูกระยะ 30×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กก./ไร่
- ถ้าปลูกระยะ 20×50 ซม. จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3.5 กก./ไร่

ถ้าดินปลูกเป็นดินเหนียวควรปลูกตื้นกว่าดินทราย ถ้าดินมีความชื้นพอดีควรปลูกลึกประมาณ 2-3 ซม. ก็พอ ถ้าดินมีความชื้นต่ำ อาจปลูกลึก 3-5 ซม. จึงจะทำให้เมล็ดงอกได้ดี
การดูแลรักษาถั่วฝักยาวไร้ค้าง

การให้น้ำ จะให้น้ำก่อนปลูก หรือหลังปลูกก็ได้ อย่าให้น้ำจนเปียกแฉะเพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า หรือรากเน่าได้ การให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินมีความชื้นอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ

แมลงที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคใบด่าง (ไวรัส) จะสังเกตได้ง่ายถ้าปรากฏว่ามีมดดำ หรือมดคันไฟ ไต่อยู่ในแปลงหรือตามต้นถั่วแสดงว่าเพลี้ยอ่อนจะเริ่มมา ให้รีบพ่นสารเคมีก่อนที่เพลี้ยอ่อนจะปรากฏ เพราะถ้าเพลี้ยอ่อนมาดูดน้ำเลี้ยงก็จะปลดปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายได้กับถั่วฝักยาว ทำให้ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อเตรียมดินปลูก อัตรา 20 กก./ไร่ และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อปลูกได้ 3 สัปดาห์ การใส่ครั้งที่ 2 ควรเปิดร่องห่างต้น 15-20 ซม. ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 40 กก./ไร่ โดยโรยลงไปในร่อง แล้วกลบ พร้อมกับการกลบโคนถั่วฝักยาวไร้ค้าง เพื่อป้องกันต้นล้ม

การกำจัดวัชพืช
หลังปลูกให้ฉีดสารป้องกันวัชพืชแลสโซก่อนงอกจะป้องกันได้ 2-3 สัปดาห์ โดยใช้อัตรา 450 ซีซี ผสมน้ำ 60 ลิตร พ่นหลัง ปลูก ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ส่วนการกำจัดวัชพืชหลังงอกให้ใช้การตายหญ้าด้วยจอบ ควรระวังอย่าให้จอบ หรือเครื่องมือ ที่ใช้ถูกลำต้น เพราะจะทำให้ลำต้นเป็นแผลและเน่าตายในที่สุด

การเก็บเกี่ยว
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง สามารถเก็บฝักสดครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 42-45 วัน หลังปลูกและจะเก็บได้เรื่อย ๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจาก เก็บฝักสด ชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอกถั่วไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง เมื่อเก็บฝักหมดควรไถกลบ เพื่อให้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อีก

โรค-แมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วฝักยาวไร้ค้าง

โรค ที่พบคือ โรคโคนเน่า และ ฝักเน่า การป้องกันใช้ เบนแลท อัตรา 6-8 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพร้อมสาร ฆ่าแมลง หรือ ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูกก็ได้ อย่าให้แปลงมีน้ำหรือชุ่มมากเกิน
แมลง เพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบหนอนเจาะฝัก ทำความเสียหายอยู่เป็นระยะ ๆ ควรป้องกันตั้งแต่ถั่วอายุ 7-10 วัน ใช้อะไซดรินพ่นป้องกันเพลี้ยอ่อนและแมลง ต่าง ๆ หลังจากนั้นควรฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ตามความจำเป็น เมื่อถั่วเริ่ม ออกดอกและพบว่ามีผีเสื้อตัวเล็ก ๆ ลายน้ำตาลมาบินอยู่ในแปลงควรฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หากจำเป็นต้องใช้ควรใช้สารประเภทถูกตัวตาย เช่น คาราเต้ แทน

การคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

เมื่อต้องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ควรเลือกจากต้นที่มีลำต้นทรงพุ่มเป็นฝักยาวเพื่อเอาเมล็ดทำพันธุ์ปลูกต่อไป การปลูกเพื่อ เก็บเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกในช่วงปลายสิงหาคม-กลางกันยายน จะได้เมล็ดพันธุ์ดีไม่เชื้อราเจือปน หรือช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีและผลผลิตสูงกว่าปลูกฤดูอื่น ๆ

เมื่อเก็บมาแล้ว ควรตากแดด 3-4 แดด ให้แห้งสนิท ระหว่างที่ตากจะมีมอดมาวางไข่ไว้ตามผิวของเมล็ด ไข่จะมีสีขาว คล้าย จุดเล็ก ๆ ซึ่งฟักตัวกลายเป็นหนอนภายใน 24 ชั่วโมง ตัวหนอนจะเจาะกินเข้าไปในเมล็ด ดังนั้นหลังจากตากแดด จนแห้งสนิท ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกันแมลง แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด หรือถุงพลาสติกปิดปากให้แน่น แล้วเก็บในที่ เย็นและมีอากาศแห้งต่อไป

ไปหน้าแรก เกษตรพอเพียง


บทความจาก http://www.vegetweb.com ภาพประกอบจาก http://www.nanagarden.com/ถั่วฝักยาวไร้ค้าง-106199-4.html

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes